ประวัติห้องสมุดกรมแพทย์ทหารบก
ห้องสมุดกองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยจัดในรูปแบบห้องสมุด และเก็บทรัพยากรสารสนเทศเป็นหมวดหมู่ ให้บริการแก่ผู้ใช้ที่พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ในวังพญาไท ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้หยุดให้บริการ เพราะมีการย้ายที่สถานที่ทำงาน
พ.ศ. ๒๔๙๑ ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่ที่พระที่นั่งพิมานจักรี วังพญาไท
พ.ศ. ๒๔๙๒ ห้องสมุดได้จัดหมวดหมู่ตามแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน โดยได้รับการแนะนำจากพลตรีขุนประทุมโรคประหารรวมถึงการจัดหาตำราและวารสารด้วยงบประมาณของกรมแพทย์ทหารบก
พ.ศ. ๒๔๙๖ ห้องสมุดได้รวบรวมงานของพิพิธภัณฑ์แพทย์เข้าไว้ด้วย เรียกว่า แผนกห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์แพทย์
พ.ศ. ๒๕๐๖ กองการแพทย์เปลี่ยนชื่อเป็นกองวิทยาการ แผนกห้องสมุด เป็นแผนกหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับกองวิทยาการ พบ.
พ.ศ. ๒๕๑๒ ห้องสมุดย้ายมาอยู่ชั้น ๗ ของตึกตรวจโรค รพ.รร.๖
แผนกห้องสมุด กสน.วพม. ได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนแพทย์ทหาร หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ขณะนั้นห้องสมุดยังไม่มีบรรจุกำลังพลและไม่มีสถานที่ แต่มีความจำเป็นต้องสนับสนุนการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนแพทย์ทหาร จึงมอบหมายให้แผนกห้องสมุด กองวิทยาการดำเนินงานจัดหาหนังสือและวารสารเข้ามาไว้ที่ห้องสมุด เพื่อให้บริการ
พ.ศ. ๒๕๑๙ ห้องสมุดได้เริ่มบรรจุกำลังพล แต่การให้บริการยังอยู่ในความรับผิดชอบของบรรณารักษ์ แผนกห้องสมุด กองวิทยาการ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐
พ.ศ. ๒๕๒๗ (๑๙ พฤศจิกายน) ห้องสมุดย้ายจากตึกตรวจโรคชั้น ๗ มาอยู่ที่อาคารธนาคารทหารไทย สาขาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ชั้น 3-5 โดยให้บริการสารนิเทศทางการแพทย์ ทั้งสิ่งพิมพ์และสื่ออื่นๆ ในสาขาวิชาปรีคลินิกและคลินิก วารสารปีปัจจุบันและวารสารเย็บเล่มอีกทั้งเป็นห้องสมุดศูนย์เวชศาสตร์ทหารและโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ เพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาแพทย์ทหารและคณาจารย์
พ.ศ. ๒๕๔๐ ผอ.กศ.วพม. ได้เสนอแนะให้เปิดบริการห้องอ่านหนังสือ วพม. ที่ชั้น ๒ อาคารเรียน วพม. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning=PBL) ของนักศึกษาแพทย์ทหาร โดยให้บริการหนังสือทางปรีคลินิกและทางคลินิกที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนหลักสูตรของ นพท.ปี ๒ และปี ๓ รวมทั้งหนังสืออ้างอิงบางส่วน เช่น พจนานุกรม บริการห้องสำหรับการเรียนกลุ่มย่อย รวมไปถึงห้องสื่อการสอน การให้บริการมีเฉพาะการยืม-คืน และบริการโสตทัศนูปกรณ์
พ.ศ. ๒๔๙๑ ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่ที่พระที่นั่งพิมานจักรี วังพญาไท
พ.ศ. ๒๔๙๒ ห้องสมุดได้จัดหมวดหมู่ตามแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน โดยได้รับการแนะนำจากพลตรีขุนประทุมโรคประหารรวมถึงการจัดหาตำราและวารสารด้วยงบประมาณของกรมแพทย์ทหารบก
พ.ศ. ๒๔๙๖ ห้องสมุดได้รวบรวมงานของพิพิธภัณฑ์แพทย์เข้าไว้ด้วย เรียกว่า แผนกห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์แพทย์
พ.ศ. ๒๕๐๖ กองการแพทย์เปลี่ยนชื่อเป็นกองวิทยาการ แผนกห้องสมุด เป็นแผนกหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับกองวิทยาการ พบ.
พ.ศ. ๒๕๑๒ ห้องสมุดย้ายมาอยู่ชั้น ๗ ของตึกตรวจโรค รพ.รร.๖
แผนกห้องสมุด กสน.วพม. ได้ก่อตั้งพร้อมกับโรงเรียนแพทย์ทหาร หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ขณะนั้นห้องสมุดยังไม่มีบรรจุกำลังพลและไม่มีสถานที่ แต่มีความจำเป็นต้องสนับสนุนการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนแพทย์ทหาร จึงมอบหมายให้แผนกห้องสมุด กองวิทยาการดำเนินงานจัดหาหนังสือและวารสารเข้ามาไว้ที่ห้องสมุด เพื่อให้บริการ
พ.ศ. ๒๕๑๙ ห้องสมุดได้เริ่มบรรจุกำลังพล แต่การให้บริการยังอยู่ในความรับผิดชอบของบรรณารักษ์ แผนกห้องสมุด กองวิทยาการ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐
พ.ศ. ๒๕๒๗ (๑๙ พฤศจิกายน) ห้องสมุดย้ายจากตึกตรวจโรคชั้น ๗ มาอยู่ที่อาคารธนาคารทหารไทย สาขาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ชั้น 3-5 โดยให้บริการสารนิเทศทางการแพทย์ ทั้งสิ่งพิมพ์และสื่ออื่นๆ ในสาขาวิชาปรีคลินิกและคลินิก วารสารปีปัจจุบันและวารสารเย็บเล่มอีกทั้งเป็นห้องสมุดศูนย์เวชศาสตร์ทหารและโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ เพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาแพทย์ทหารและคณาจารย์
พ.ศ. ๒๕๔๐ ผอ.กศ.วพม. ได้เสนอแนะให้เปิดบริการห้องอ่านหนังสือ วพม. ที่ชั้น ๒ อาคารเรียน วพม. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning=PBL) ของนักศึกษาแพทย์ทหาร โดยให้บริการหนังสือทางปรีคลินิกและทางคลินิกที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนหลักสูตรของ นพท.ปี ๒ และปี ๓ รวมทั้งหนังสืออ้างอิงบางส่วน เช่น พจนานุกรม บริการห้องสำหรับการเรียนกลุ่มย่อย รวมไปถึงห้องสื่อการสอน การให้บริการมีเฉพาะการยืม-คืน และบริการโสตทัศนูปกรณ์